Popular

All
appetizers
desserts
food
pizza
berries

มูล บุญมั่น “นายฝาย” แห่งบ้านน้ำปุก “ตำแหน่งที่ไม่มีค่าตอบแทนแม้แต่บาทเดียว”

วันนี้ที่น้ำปุกมีเสียงตอกดังสนั่นป่าเมื่อตามเสียงไปจึงพบว่าเป็นการทำฝายไม้แบบดั้งเดิม ปัจจุบันพบน้อยมาก ปัญหาเรื่องการแย่งชิงน้ำในปัจจุบันจะพบเห็นในหลายพื้นที่ ด้วยสาเหตุสำคัญเพราะปริมาณน้ำที่มีน้อยลงทุกปีโดยเฉพาะในฤดูแล้ง ศึกชิงน้ำจะเกิดประจำ เหตุที่น้ำเหลือน้อยลงในทุกแม่น้ำส่วนใหญ่มาจากป่าต้นน้ำหายไป และผู้ใช้น้ำบริหารน้ำไม่มีระบบ หรือมือใครยาวสาวได้สาวเอา          ดังนั้น ทางภาคเหนือจึงมีบุคคลสำคัญที่เป็นผู้ทรงภูมิด้านการจัดการน้ำหรือ การแบ่งสัดส่วนการใช้น้ำแก่ผู้ใช้น้ำในหมู่บ้านหรือพื้นที่ของตนเองได้อย่างลงตัวโดยไม่ให้เกิดปัญหาการแย่งน้ำ…

ฝาย ๑๒๐ ปี วิถีคนน้ำปุกกลางป่าต้นน้ำยม

ท่ามกลางฤดูร้อน กับภาวะความแห้งแล้งอย่างหนักอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ตั้งแต่ต้นฤดูร้อนแม่น้ำหลายสายในพื้นที่ภาคเหนือก็เริ่มแห้งขอดจนคนแก่คนเฒ่าหลายคนถึงกับเอ่ยว่า เป็น ความแห้งที่สุดในช่วงชีวิต น้ำเคยมีไว้สำหรับการแบ่งปันกำลังกลับกลายเป็นการยื้อแย่งยามเช้าที่บ้านน้ำปุกอากาศยังเย็นสบายเพราะหมู่บ้านรายล้อมไปด้วยภูเขาพื้นที่ป่าต้นน้ำยมทางทิศตะวันออกของ อำเภอปง จังหวัดพะเยา ชาวบ้านที่นี่มีเชื้อสายมาจากประเทศลาว จากแขวงจำปาสัก และนครหลวงเวียงจันทร์…

ชุมชนบ้านน้ำปุก

ประวัติความเป็นมา เดิมทีก่อนที่จะมาเป็นบ้านน้ำปุกนั้น  ชาวบ้านได้อพยพมาจากนครเวียงจันทร์  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  สาเหตุของการอพยพคือ หนีความแห้งแล้ง และหาที่ดินทำกินในการดำรงชีวิตประจำวันลำบาก ในตอนนั้นจะอยู่ ในสมัยของรัชกาล ที่ 5 ของไทย…

ฝาย ๑๒๐ ปี วิถีคนน้ำปุกกลางป่าต้นน้ำยม

ท่ามกลางฤดูร้อน กับภาวะความแห้งแล้งอย่างหนักอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ตั้งแต่ต้นฤดูร้อนแม่น้ำหลายสายในพื้นที่ภาคเหนือก็เริ่มแห้งขอดจนคนแก่คนเฒ่าหลายคนถึงกับเอ่ยว่า เป็น ความแห้งที่สุดในช่วงชีวิต น้ำเคยมีไว้สำหรับการแบ่งปันกำลังกลับกลายเป็นการยื้อแย่งยามเช้าที่บ้านน้ำปุกอากาศยังเย็นสบายเพราะหมู่บ้านรายล้อมไปด้วยภูเขาพื้นที่ป่าต้นน้ำยมทางทิศตะวันออกของ อำเภอปง จังหวัดพะเยา ชาวบ้านที่นี่มีเชื้อสายมาจากประเทศลาว จากแขวงจำปาสัก และนครหลวงเวียงจันทร์ พวกเขาเริ่มก่อตั้งหมู่บ้านในปีพ.ศ. ๒๔๓๒ ปุกในสำเนียงภาษาของคนลาวมีความหมายว่า ทำให้ตื่นตัว คนภาคเหนือของไทยให้ความหมายว่า พยุงให้ตรง เป็นที่มาของแม่น้ำปุก หมู่บ้านน้ำปุก และฝายน้ำปุก ขบวนรถมอเตอร์ไซด์ รถอีต๊อก นำพาชาวบ้านทั้งชายและหญิงกว่าร้อยคนมุ่งหน้าสู่ฝาย น้ำปุกเหนือหมู่บ้านประมาณ ๓ กิโลเมตร วันนี้มีนัดซ่อมฝาย กว่าร้อยปีฝายโบราณแห่งนี้ยังคงทำหน้าที่ส่งน้ำเข้าสู่ไร่นา แม้กระแสของภายนอกกับคนนจำนวนหนึ่งในหมู่บ้านพยายามที่จะเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงจากฝายที่มีโครงสร้างจากไม้หลัก ไม้ระแนง กรวดหินในแม่น้ำ เป็นฝายคอนกรีต ชาวบ้านจำนวนหนึ่งก็ยังยืนยันว่า ฝายโบราณ น้ำใสสะอาด ไม่มีตะกอนทับถม ปลาขึ้นลงได้ คนในหมู่บ้านช่วยกันทำ ต่างจากฝายคอนกรีตที่เคยเห็นในหมู่บ้านอื่นมีปัญหาเรื่องตะกอนทับถม น้ำเซาะชายฝั่ง ปลาไม่สามารถขึ้นลงได้ แรงงานก็มาจากคนรับเหมาก่อสร้าง “หื้อล้างบ้านเมืองกว้างขวางมากนัก แล้วก็หื้อล้างเขตวัตถุฬากมาติกาวรรณทั้งหลาย เป็นต้น สวน เรือก ไร่นา เหมืองฝาย หื้อวุฑฒิแก่บ้านเมืองแห่งตนฮั้นแล ”  ให้ช่วยกันดูแลรักษาบ้านเมือง ดูแลรักษาไร่นา เหมืองฝาย ให้ความสงบสุขและความเจริญแก่บ้านเมือง หากย้อนกลับไปศึกษาประวัติศาสตร์ของล้านนาจะพบว่าเหมืองฝายเกิดขึ้นในสมัยปู่เจ้าลาวจกหรือพญาลวจังราชสู่ยุคสร้างบ้านแปงเมืองของพญามังราย มีความเป็นมายาวนานกว่า…

Read More

มูล บุญมั่น “นายฝาย” แห่งบ้านน้ำปุก “ตำแหน่งที่ไม่มีค่าตอบแทนแม้แต่บาทเดียว”

วันนี้ที่น้ำปุกมีเสียงตอกดังสนั่นป่าเมื่อตามเสียงไปจึงพบว่าเป็นการทำฝายไม้แบบดั้งเดิม ปัจจุบันพบน้อยมาก ปัญหาเรื่องการแย่งชิงน้ำในปัจจุบันจะพบเห็นในหลายพื้นที่ ด้วยสาเหตุสำคัญเพราะปริมาณน้ำที่มีน้อยลงทุกปีโดยเฉพาะในฤดูแล้ง ศึกชิงน้ำจะเกิดประจำ เหตุที่น้ำเหลือน้อยลงในทุกแม่น้ำส่วนใหญ่มาจากป่าต้นน้ำหายไป และผู้ใช้น้ำบริหารน้ำไม่มีระบบ หรือมือใครยาวสาวได้สาวเอา          ดังนั้น ทางภาคเหนือจึงมีบุคคลสำคัญที่เป็นผู้ทรงภูมิด้านการจัดการน้ำหรือ การแบ่งสัดส่วนการใช้น้ำแก่ผู้ใช้น้ำในหมู่บ้านหรือพื้นที่ของตนเองได้อย่างลงตัวโดยไม่ให้เกิดปัญหาการแย่งน้ำ คือ “แก่ฝาย”หรือ “นายฝาย” แต่ละหมู่บ้านจะมีเพียงคนเดียวเท่านั้น มูล บุญมั่น “แก่ฝาย” หรือ ”นายฝาย” แห่งบ้านน้ำปุก อายุ 56 ปี กล่าวว่าแม่น้ำปุกคือแม่น้ำสายหลักของชาวน้ำปุกการรักษาแม่น้ำปุกเพื่อใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าสูงสุด คือหน้าที่สำคัญต้องร่วมแรงร่วมใจกันดูแล ดังนั้น ทุกปีคนน้ำปุกจะร่วมกันตีฝายน้ำปุก เพื่อให้เก็บกักน้ำ ดักตะกอน ชะลอน้ำ ให้ผืนป่าใกล้เคียงชุ่มชื้น โดยใช้ไม้ทำเป็นหลักหลายขนาดตอกลงไปในน้ำและยึดให้แน่นเป็นแผงขวางตลอดแนวลำน้ำประมาณ 50 เมตร (ขึ้นอยู่กับความกว้างของลำน้ำ) ยาวประมาณ 25 เมตร “ประมาณเดือนมีนาคมทุกปี หรือช่วงก่อนที่น้ำจะมา จะมีล่ามฝายทำหน้าที่แจ้งทุกครัวเรือนส่งตัวแทนเข้าร่วมตีฝาย หากครัวเรือนใดที่ไม่ส่งตัวแทนมาจะเสียค่าปรับวันละ 200 บาท แต่ละครั้งการตีฝายจะทำเพื่อซ่อมแซมฝายส่วนที่เสียหายจากน้ำพัดในปีที่ผ่านมา จะเสียหายมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแรงน้ำ หากปีไหนที่ฝายเสียหายมากจะต้องใช้เวลาตีฝายประมาณ 5-7 วัน หากเสียหายน้อย 1-2 วัน ก็เสร็จ” การตีฝายเกิดขึ้นเพราะทุกคนทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ตั้งแต่เด็ก ผู้นำ ประชาชน เจ้าหน้าที่ป่าไม้ของดอยผาช้างซึ่งเป็นลูกหลานในหมู่บ้านและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล…

Read More

ชุมชนบ้านน้ำปุก

ประวัติความเป็นมา เดิมทีก่อนที่จะมาเป็นบ้านน้ำปุกนั้น  ชาวบ้านได้อพยพมาจากนครเวียงจันทร์  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  สาเหตุของการอพยพคือ หนีความแห้งแล้ง และหาที่ดินทำกินในการดำรงชีวิตประจำวันลำบาก ในตอนนั้นจะอยู่ ในสมัยของรัชกาล ที่ 5 ของไทย  ซึ่งตระกูลที่อพยพมาเริ่มแรก มีอยู่  3  ตระกูล  คือ ตระกูลไชยมงคล ตระกูลลาบุตรดี และตระกูลอินธิยา  ทั้ง  3  ตระกูล  มาพบกันที่จังหวัดน่าน  เมื่อประมาณปี  พ.ศ. 2432  แล้วย้ายถิ่นฐานมาตั้งหมู่บ้านที่บ้านน้ำปุก ณ  ปัจจุบัน  เริ่มแรกของการก่อตั้งหมู่บ้าน  มีประชากรประมาณ  7  หลังคาเรือนขณะนั้นบ้านน้ำปุก ยังเป็นหมู่บ้านในเขตของจังหวัดน่าน  ต่อมาในปี พ.ศ. 2469  ได้ มีการจัดตั้งวัดขึ้นมา ชื่อวัดน้ำปุก  ตำบลควร  อำเภอปง  จังหวัดน่าน  ซึ่งตรงกับสมัยตอนต้นของรัชกาลที่ 7  พระภิกษุรูปแรกที่จำพรรษา  คือ  พระอินศวร  ต่อมาในปี พ.ศ. 2485  ได้มีการย้ายวัดจากที่เดิมมาตั้งบนภูเขาจนถึงปัจจุบัน ส่วนวิหารวัดหลังเก่าชาวบ้านได้ทำนุบำรุงรักษาไว้เป็นอาคารเรียน  ซึ่งในช่วงนั้นจะตรงกับสงครามโลกครั้งที่  2  ผลของสงครามทำให้ชาวบ้านมีความตระหนักถึงความปลอดภัยจึงได้มีการขุดหลุมหลบภัยเพื่อใช้หลบภัยในยามที่มีสงคราม  ในตอนนั้นบ้านน้ำปุกมีประชากรประมาณ  20  หลังคาเรือน  ต่อมาในปี พ.ศ. 2488  ภัยสงครามก็สิ้นสุดลง  บ้านน้ำปุกก็กลับเข้าสู่ภาวะปกติ  หลังจากนั้นบ้านน้ำปุกก็ได้ แยกออกจากจังหวัดน่าน  มาอยู่…

Read More
Twitter
Reddit